Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

8 สิ่งสำคัญที่ต้องมีบนบรรจุภัณฑ์ เพิ่มความน่าเชื่อถือ ยอดขายพุ่ง

8 สิ่งสำคัญที่ต้องมีบนบรรจุภัณฑ์ เพิ่มความน่าเชื่อถือ ยอดขายพุ่ง

Brand คือ ภาพลักษณ์ และมุมมองความคิดที่ลูกค้ามีต่อสินค้า เป็นความรู้สึกที่ถูกสื่อสารผ่านสิ่งที่เกี่ยวกับแบรนด์ โดยแบรนด์นั้นควรจะเป็นที่น่าจดจำ ลูกค้าสามารถจำแนกสินค้าได้ว่าเป็นของแบรนด์ไหน แต่ที่น่าสงสัยนั่นก็คือ จะทำอย่างไรให้เป็นที่รู้จัก น่าจดจำ และกลับมาซื้อ หรือใช้บริการแบรนด์ของเราอีกครั้งได้

ซึ่งหนึ่งในสิ่งที่ควรคำนึงถึง และควรให้ความสำคัญเป็นลำดับต้น ๆ คือ บรรจุภัณฑ์สินค้า เนื่องจากเป็นสิ่งที่แสดงภาพลักษณ์ของธุรกิจ ช่วยในเรื่องของการจดจำตัวสินค้าได้ดี และยังเป็นการสร้างภาพลักษณ์ให้กับแบรนด์ อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่ลูกค้ามองเห็นเป็นอับดับแรก เป็นสิ่งดึงดูดให้ลูกค้าอยากเห็นตัวสินค้า โดยการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ก็ควรคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมาย รูปแบบของสินค้า ดีไซน์ ความน่าเชื่อถือ หรือแม้กระทั่งประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ลูกค้าได้สัมผัสบรรจุภัณฑ์

การออกแบบบรรจุภัณฑ์ มีความสำคัญมากในการสร้างความเชื่อถือในสินค้าของท่าน โดยการที่จะซื้อสินค้าสักชิ้นหนึ่งนั้น กลุ่มเป้าหมายมักจะพิจารณารายละเอียดที่อยู่บนตัวบรรจุภัณฑ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่สินค้าทุกชิ้นต้องมี เพื่อให้ผู้บริโภคได้เห็นคุณค่า คุณภาพของสินค้าของคุณ และสามารถตัดสินใจซื้อสินค้าได้

1. ตราสินค้า (Brand)

ตราสินค้า หมายถึง ชื่อ (Name) คำ (Term) เครื่องหมาย (Sign) สัญลักษณ์ (Symbol) การออกแบบ (Design) หรือสิ่งดังกล่าวทั้งหมดรวมกัน เพื่อแสดงให้เห็นว่า สินค้า หรือบริการของท่านแตกต่างจากคู่แข่ง ซึ่งแบรนด์เกิดขึ้นมาจากความคิดของผู้บริโภคผ่านสิ่งต่าง ๆ ที่ประกอบขึ้นมาเป็นตราสินค้า ไม่ว่าจะเป็นตัวผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ อัตลักษณ์ การตลาด และการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า โดยในส่วนของบรรจุภัณฑ์ที่เกี่ยวกับตราสินค้า ประกอบด้วยดังนี้

1.1 ชื่อสินค้า (Brand name)

ชื่อสินค้าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพราะเป็นตัวแทนของสินค้าของท่าน ชื่อสินค้าควรเป็นชื่อที่สื่อถึงแบรนด์ของท่าน และไม่ควรใช้ชื่อที่ออกเสียง หรือใกล้เคียงกับชื่อแบรนด์อื่น เนื่องจากชื่อสินค้าเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคจะได้รับรู้ทันทีเมื่อเห็นบรรจุภัณฑ์ ดังนั้น ชื่อสินค้าควรจะจำง่าย ไม่ยาวจนเกินไป และสื่อถึงแบรนด์มากที่สุด

และที่สำคัญชื่อแบรนด์ควรมีความหมายดี เป็นมงคล โดยชื่อจะมีการวิเคราะห์ผ่านหลักเลขศาสตร์ จะมีการนำเอาอักษร สระ วรรณยุกต์ต่าง ๆ ในภาษาไทย และตัวอักษรภาษาอังกฤษมาถอดเป็นตัวเลข 9 ตัว ซึ่งผลรวมของเลขควรอยู่ในกลุ่มเลขศาสตร์ที่เป็นมงคล และส่งผลดีต่อธุรกิจมาใช้ในการตั้งชื่อแบรนด์ จะช่วยส่งเสริมดวงชาตากิจการให้เจริญก้าวหน้า ร่ำรวย ประสบความสำเร็จได้โดยง่าย ตัวอย่างเช่น

แบรนด์ Adidas เมื่อถอดค่าทางเลขศาสตร์ จะได้เลข 14 ซึ่งเป็นเลขที่ดีมาก อิทธิพลของเลขนี้ ส่งผลให้ธุรกิจมีความรุ่งโรจน์อย่างมั่นคงและเจริญรุ่งเรือง มีชื่อเสียงโด่งดัง สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี ทั้งยังมีคนที่ชื่นชอบ ติดต่อสื่อสารระหว่างธุรกิจได้อย่างราบรื่น มีคู่ค้าคู่วางแผนที่ดีที่ทำให้ประสบความสำเร็จ

จะเห็นได้ว่าแบรนด์สินค้าชั้นนำก็ไม่ละเลยที่จะใช้ชื่อแบรนด์มงคลเช่นเดียวกันค่ะ

1.2 เครื่องหมายการค้า (Trademark)

เป็นเครื่องหมายที่เกี่ยวข้องกับสินค้า เพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายการค้านี้แตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น หรือที่เรียกว่าโลโก้ของสินค้า (โดยต้องผ่านการจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าเรียบร้อยแล้ว) เพื่อบ่งบอกให้เห็นถึงสินค้าหรือบริการของผู้จำหน่าย โลโก้ไม่ได้เป็นเพียงแค่สัญลักษณ์เท่านั้น แต่การออกแบบโลโก้ที่ดี ยังสามารถเพิ่มความหน้าเชื่อถือ การแสดงตัวตน และสื่อภาพลักษณ์ของแบรนด์

ซึ่งการออกแบบโลโก้ที่ดี นอกจากการพิจารณาในเรื่องของดีไซน์ ควรมีความสอดคล้องกับแบรนด์ และกลุ่มเป้าหมาย การใช้สีที่เสริมธาตุตามหลักฮวงจุ้ยจีน ซึ่งจำเป็นต้องพิจารณาจากวันเดือนปีเกิดเจ้าของกิจการ และหุ้นส่วนประกอบ ซึ่งแบ่งเป็น 5 ธาตุได้แก่ ดิน น้ำ ไม้ ทอง ไฟ จะช่วยส่งเสริมธุรกิจ และเพิ่มความเป็นสิริมงคลให้เจริญรุ่งเรือง ก้าวหน้า

ตัวอย่างการออกแบบโลโก้ และบรรจุภัณฑ์ฮวงจุ้ย

2. รายละเอียดของสินค้า

คือ ข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ ที่เป็นข้อความในเชิงประชาสัมพันธ์ บรรยายสรรพคุณของสินค้า และรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสินค้า โดยผลิตภัณฑ์จำเป็นต้องบอกรายละเอียดต่าง ๆ ของสินค้า เพื่อทำให้ลูกค้าสามารถเข้าใจ และตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าได้ โดยรายละเอียดของสินค้าทั่วไปส่วนใหญ่ที่ถูกใส่ลงบรรจุภัณฑ์นั้น มีดังนี้

  • ที่มา จุดประสงค์ หรือสินค้าชิ้นนี้เกิดขึ้นมาเพราะอะไร
  • สรรพคุณของสินค้า หรือสินค้าชิ้นนี้สามารถให้อะไรกับผู้บริโภคได้
  • ราคาของสินค้า
  • สโลแกน หรือโปรโมชันของสินค้า

3. รูปภาพประกอบของสินค้า

เป็นอีกหนึ่งส่วนที่สำคัญเป็นอย่างมาก เพราะการที่เรามีรูปภาพเป็นส่วนหนึ่งในการประกอบสินค้านั้น จะทำให้ลูกค้านั้นสามารถเข้าใจในสินค้าได้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับการบริโภค อย่างอาหาร ขนม เครื่องดื่ม เพราะการที่นำรูปภาพมาเป็นส่วนประกอบนั้น จะทำให้คนที่เห็นได้รู้ว่าสินค้าของท่านนั้นมันทำมาจากอะไร

หรือในอีกรูปแบบหนึ่ง อาจมีการออกแบบให้มีช่องที่สามารถมองเห็นผลิตภัณฑ์ผ่านวัสดุใส จะช่วยให้กลุ่มลูกค้าเห็นสินค้าภายในได้อย่างชัดเจน และแสดงถึงความจริงใจของแบรนด์ที่มีต่อลูกค้าได้อีกด้วย

4. ส่วนประกอบของสินค้า

โดยจำเป็นต้องแจกแจงรายละเอียดว่า ผลิตภัณฑ์ของท่านนั้นทำมาจากอะไร ในอัตราส่วนเท่าใด ซึ่งข้อมูลในส่วนนี้ต้องให้ข้อมูลที่เป็นความจริง เพราะผู้บริโภคบางส่วนอาจมีความจริงจังเกี่ยวกับส่วนประกอบของสินค้า เนื่องจากบางคนต้องมีการหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้เกิดการแพ้ ซึ่งการใส่ข้อมูลที่เป็นความจริง จะทำให้ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจได้ง่ายยิ่งขึ้นนั่นเอง

5. น้ำหนัก / ปริมาณสุทธิของสินค้า

น้ำหนักของสินค้า คือ ตัวเลขที่แสดงถึงปริมาณสินค้าที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์ เป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้น เช่น สินค้า A ราคา 60 บาท น้ำหนักสุทธิ 30 กรัม สินค้า B ราคา 60 บาท น้ำหนักสุทธิ 45 กรัม ซึ่งสินค้าทั้งสองนี้มีราคาเท่ากัน แต่สินค้า B จะได้สินค้าที่มีน้ำหนักมากกว่า ทำให้มีความคุ้มค่าที่จะซื้อมากกว่า เป็นต้น

6. ข้อควรระวังในการบริโภค

คำเตือน หรือข้อควรระวังในการบริโภค มักจะพบในบรรจุภัณฑ์ในกลุ่มเครื่องดื่มชูกำลัง หรือเครื่องดื่มที่ผสมสารคาเฟอีน ทั้งนี้จะเป็นการเตือนไม่ให้ผู้บริโภคนั้นทานเยอะ หรือทานเกินระดับขีดอันตราย จะได้ไม่ทำลายสุขภาพของผู้บริโภคนั่นเอง เช่น ห้ามดื่มเกินวันละ 2 ขวด เพราะหัวใจจะสั่น นอนไม่หลับ เด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรดื่ม ผู้มีโรคประจำตัวหรือผู้ป่วยปรึกษาแพทย์ก่อน

7. ชื่อผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่าย

เป็นการบ่งบอกถึงบริษัทผู้ผลิตสินค้า ผู้นำเข้าเพื่อจำหน่าย ว่ามีที่มาจากไหน บริษัทไหน สถานที่ตั้งโรงงานผลิต หรือโรงงานที่นำเข้า เบอร์โทรติดต่อทางบริษัท รายละเอียดที่ใช้ติดต่อกับผู้บริโภคของผู้จำหน่าย เพื่อให้บริการข้อมูลต่าง ๆ กับผู้บริโภคที่ได้ทำการซื้อสินค้าและบริโภค

8. ข้อมูลที่ต้องใส่ตามกฎหมาย

  1. วันที่ผลิตและวันหมดอายุ
  2. วันที่ควรบริโภคก่อน
  3. ข้อแนะนำ, ขั้นตอนหรือวิธีใช้ของสินค้า ยกตัวอย่างเช่น
    เขย่าก่อนดื่ม, บริโภคแต่น้อยและออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ, ควรกินอาหารหลากหลายครบ 5 หมู่ ในสัดส่วนที่เหมาะสมเป็นประจำ, เก็บไว้ได้นานโดยไม่ต้องแช่เย็น เป็นต้น
  4. เครื่องหมายรับรอง ยกตัวอย่างเช่น
    – เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)
    – การรับรองมาตรฐาน GMP
    – การรับรองมาตรฐาน HACCP
    – เครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร (เครื่องหมาย Q)
    – เครื่องหมายอาหารและยา (อย.)
    – เครื่องหมายมาตรฐานไอเอสโอ (ISO)
    – เครื่องหมายมาตรฐานอาหารฮาลาล
  1. บาร์โค้ด
  2. คุณค่าทางโภชนาการ โดยผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในหมวดอาหารนั้นต้องมีข้อมูลทางโภชนาการที่บ่งบอกถึงสารอาหาร ปริมาณของสารอาหาร คุณค่าทางโภชนาการต่อหนึ่งหน่วยบริโภค และร่างกายมีความต้องการสารอาหารแต่ละประเภทในปริมาณเท่าใด

•─────✦❅✦─────•

จะเห็นได้ว่าในการสร้างแบรนด์สินค้าให้ได้รับความนิยม เป็นที่รู้จัก และจดจำแบรนด์ของเราได้นั้น มีความสำคัญในทุก ๆ ขั้นตอน ดังนั้นควรให้ความสำคัญตั้งแต่เริ่มต้น ทั้งการวางแผน การดำเนินการ รายละเอียด ไปจนถึงคุณภาพของสินค้า และบริการ โดยเฉพาะการเลือกใช้ชื่อแบรนด์ โลโก้ และบรรจุภัณฑ์ (Packaging) ที่สามารถทำให้ลูกค้าจดจำแบรนด์ได้ง่ายที่สุด ฉะนั้น ทั้งสามอย่างที่กล่าวถึง ควรมีการออกแบบให้สอดคล้องกับแบรนด์และกลุ่มเป้าหมาย มีความสิริมงคลตามหลักฮวงจุ้ย รวมไปถึงความชัดเจน ทั้งในเรื่องความหมาย เอกลักษณ์ และจุดเด่น

✦ ถ้าท่านกำลังมองหาชื่อแบรนด์มงคล โลโก้แบรนด์ หรือบรรจุภัณฑ์ สามารถติดต่อสอบถามกับทาง อ.ชัญ ได้ที่ Line: @theluckyname โดย อ.ชัญ จะตั้งชื่อแบรนด์ผ่านการวิเคราะห์หลักเลขศาสตร์ ซึ่งจะได้ชื่อแบรนด์ที่เป็นมงคล ไม่ซ้ำใคร ในส่วนของโลโก้และบรรจุภัณฑ์ (Packaging) จะเลือกใช้สีที่เสริมธาตุตามหลักฮวงจุ้ยจีน โดยพิจารณาจากวันเดือนปีเกิด เจ้าของกิจการ และหุ้นส่วนประกอบ เพื่อเสริมความเป็นมงคลให้กับทางแบรนด์ และเสริมภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้ด้วยค่ะ