ตำแหน่งศูนย์กลางของบ้าน เป็นตำแหน่งรวมผสานพลังแห่งฟ้ากับดินไว้ด้วยกัน โดยศูนย์กลางของบ้านต้องโล่งมีหลักการมาจากการมองยันต์โป๊ยข่วยหรือยันต์ 8 ทิศ จะพบว่าตรงกลางนั้นเป็นที่สถิต สัญลักษณ์หยิน-หยาง เป็นจุดที่ปรับสมดุลให้กับพลังแห่งจักรวาล ซึ่งในศาสตร์ฮวงจุ้ยดูจะให้ความสำคัญเป็นพิเศษ
การหาจุดศูนย์กลางบ้านเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญ เพราะจำเป็นจะต้องใช้เป็นตัวอ้างอิง ในการวางผังบ้าน ใหม่ หรือ ใช้ในการแก้ไขปรับฮวงจุ้ยบ้านเดิมที่ได้ทำการก่อสร้างไว้แล้ว ซึ่งบ้านแต่ละหลังอาจจะมีส่วนเว้าแหว่ง หรือรูปร่างต่างกันไป ให้ดูแนวทางการหาจุดศูนย์กลางได้ดังภาพตัวอย่างข้างล่าง
1.รูปแบบบ้านที่สมมาตร

รูปที่ 1 บ้านที่มีแปลนเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ให้แบ่งครึ่งจากมุมของสี่เหลี่ยมจัสตุรัสของแต่ละมุม ไปยังด้านตรงข้าม ทำทั้ง 4 มุม จุดตัดเป็นจุดศูนย์กลางบ้าน
รูปที่ 2 บ้านที่มีแปลนเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ให้แบ่งครึ่งจากมุมของสี่เหลี่ยมผืนผ้าของแต่ละมุม ไปยังด้านตรงข้าม ทำทั้ง 4 มุม จุดตัดเป็นจุดศูนย์กลางบ้าน

รูปที่ 3 บ้านที่มีแปลนเป็นรูปสามเหลี่ยม ให้แบ่งครึ่งจากด้าน ทั้งสาม ลากเส้นจากจุดกึ่งกลางไปยังมุมตรงข้าม ทำทั้ง 3 ด้าน จุดตัด คือศูนย์กลางบ้าน
รูปที่ 4 บ้านที่มีแปลนเป็นรูปวงกลม จุดศูนย์กลางบ้านคือจุดกึ่งกลาง

2.รูปแบบบ้านที่มีบางส่วนที่แหว่ง หรือยื่นออกมา
วิธีหาจุดศูนย์กลาง แบ่งเป็น 2 กรณี
กรณีที่ 1 บ้านที่บางส่วนที่แหว่งออกไป ให้เติมพื้นที่ที่ขาดหายไป ให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมที่มีความสมมาตร แล้วจึงค่อยหาจุดศูนย์กลางบ้าน (รูปที่ 5)
กรณีที่ 2 บ้านที่บางส่วนที่ยื่นออกมา ให้ตัดพื้นที่ที่ยื่นออกมาไป ให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมที่มีความสมมาตร แล้วจึงค่อยหาจุดศูนย์กลางบ้าน (รูปที่ 6)

3.รูปแบบบ้านที่มีรูปทรงไม่สมมาตร
รูปที่ 7 ให้ทำการแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน จากนั้นให้หาจุดศูนย์กลางของ สี่เหลี่ยม A หลังจากนั้น ให้หาจุดศูนย์กลางของ สี่เหลี่ยม B จากนั้นให้เลื่อนหาจุดตรงกลาง ระหว่างจุดศูนย์กลาง A และ B จึงเรียกว่าจุดศูนย์กลางบ้าน
รูปที่ 8 ให้ทำการแบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วน จากนั้นให้หาจุดศูนย์กลางของ สี่เหลี่ยม A หลังจากนั้น ให้หาจุดศูนย์กลางของ สี่เหลี่ยม B และหาพื้นที่ของสี่เหลี่ยม C จากนั้นให้เลื่อนหาจุดที่ตัดตรงกลาง (จุด transfer) ระหว่างจุดศูนย์กลาง A และ B C จึงเรียกว่าจุดศูนย์กลางบ้าน (รูปที่ 7)
หมายเหตุ
1.กรณีบ้านเว้าแหว่ง หรือยื่นออกเล็กน้อย ถือว่า ให้เพิ่มส่วนที่ขาดหรือตัดส่วนที่เว้าแหว่งออก
2. พิจารณาเฉพาะในส่วนกำแพงในตัวบ้าน ไม่รวมรั้ว และ ระเบียง
ตำแหน่งจุดศูนย์กลางบ้าน ควรจะเป็นส่วนที่เป็นที่โล่ง นี้ควรจะทำให้มีความรู้สึกโปร่งโล่งสบาย เพราะในตำแหน่งจุดศูนย์กลางบ้านเป็นตำแหน่งที่เทพเจ้าเบื้องบนลงมาประทานพรให้กับมนุษย์ผู้ใฝ่ดี